Close
title
f
title
แขวงทางหลวงกรุงเทพ
Bangkok Highway District
วิสัยทัศน์ : ระบบทางหลวงที่สะดวก ปลอดภัย เชื่อมโยงการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
 
ข่าวสารทางหลวง
title
กรมทางหลวง เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทาง

กรมทางหลวง เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทาง นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งอาจทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เกิดวาตภัย และ ดินโคลนถล่ม ส่งผลให้ประชาชนผู้ใช้ทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง จึงได้สั่งการให้สำนักงานทางหลวงและแขวงทางหลวง ซึ่งมีความพร้อมทั้งบุคลากร เครื่องมือ และเครื่องจักร ดำเนินการตรวจสอบสภาพความเรียบร้อยของ ผิวทางต้องไม่มีหลุมบ่อ สำรวจพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติ ตรวจสอบสะพาน ท่อระบายน้ำ ร่องน้ำให้อยู่ในสภาพดี พร้อมเร่งขุดลอกร่องระบายบริเวณสองข้างทาง กำจัดเศษวัชพืชมิให้กีดขวางทางระบายน้ำ จัดเตรียมเครื่องจักร ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องสูบน้ำ สิ่งอำนวยความปลอดภัย ป้ายจราจร หรือป้ายมือถือ (Knock Down) หลักนำทาง และไฟกระพริบ เพื่อให้แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงทีและอำนวยความสะดวกในการสัญจรให้กับประชาชนผู้ใช้ทางทั้งนี้ หากเกิดภัยพิบัติขึ้นหน่วยงานในพื้นที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด รวมถึงการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งให้ศูนย์สร้างทาง ศูนย์สร้างและบูรณะสะพาน เตรียมพร้อมสนับสนุน ทุกหน่วยงานในกรณีทางขาดหรือสะพานขาด/ชำรุด โดยการเตรียมเครื่องจักรและสะพานเบลี่ย์ (สะพานโครงเหล็กชั่วคราว) ให้พร้อมใช้งาน นอกจากนี้ ยังให้ทุกหน่วยงานติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ การเตือนภัย จากกรมอุตุนิยมวิทยาและ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อย่างใกล้ชิด พร้อมร่วมบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่หากเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูฝนกรมทางหลวงขอความร่วมมือผู้ใช้ทางขับขี่อย่างระมัดระวัง ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำ เพื่อความปลอดภัยของท่านและผู้ร่วมใช้ทาง หากต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ได้รับความสะดวกใน การเดินทาง สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ทั่วประเทศ หรือ สายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) 9 มิถุนายน 2566ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง
title
กรมทางหลวงขยายทางเลี่ยงเมืองลพบุรีด้านใต้ เป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร แล้วเสร็จตลอดสาย เพิ่มประสิทธิภาพคมนาคมโครงข่ายทางหลวง รองรับปริมาณการเดินทางและการขนส่งที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

กรมทางหลวงขยายทางเลี่ยงเมืองลพบุรีด้านใต้ เป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร แล้วเสร็จตลอดสายเพิ่มประสิทธิภาพคมนาคมโครงข่ายทางหลวง รองรับปริมาณการเดินทางและการขนส่งที่เพิ่มขึ้นในอนาคต กรมทางหลวง โดยสำนักก่อสร้างทางที่ 1 ดำเนินการโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 366 สายทางเลี่ยงเมืองลพบุรีด้านใต้ ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการด้านคมนาคมขนส่งในพื้นที่ จ.ลพบุรี เพื่อรองรับปริมาณการเดินทางและการขนส่งที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ทางหลวงหมายเลข 366 หรือ ทางเลี่ยงเมืองลพบุรี เป็นทางหลวงสายสำคัญที่เชื่อมต่อได้หลายจังหวัด เช่น จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และมุ่งสู่จังหวัดนครสวรรค์ได้ มีจุดเริ่มต้น กม.ที่ 0+000 (จุดบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) ผ่านจังหวัดลพบุรี ไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 ที่ กม. 19+310 (แยกสนามไชย) รวมระยะทางทั้งหมด 19.3 กิโลเมตร เดิมเป็นทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจรตลอดสาย ในปี พ.ศ.2560 กรมทางหลวง ดำเนินการก่อสร้างขยายเป็น 4 ช่องจราจร ตั้งแต่ กม. 0+065 - กม. 4+500 เสร็จได้ของประเทศในส่วนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ภาคการขนส่งให้สมบูรณ์ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564) ต่อมากรมทางหลวงได้รับงบประมาณปี 2563 เพื่อดำเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 366 สายทางเลี่ยงเมืองลพบุรีด้านใต้ในช่วงที่เหลือ โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการฯ ที่ กม. 4+450 - กม. 19+310 รวมระยะทาง 14.860 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นมาตรฐานชั้นทางพิเศษ ขนาด 4 ช่องจราจร (ไป - กลับ) ผิวทางคอนกรีต หนา 25 เซนติเมตร ผิวจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.50 เมตร รวมงานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างและไฟกระพริบบนทางหลวง โดยมีงานก่อสร้างสะพานข้ามคลองชลประทาน จำนวน 17 แห่ง และสะพานข้ามทางรถไฟ จำนวน 1 แห่ง พร้อมก่อสร้างทางแยกบริเวณ กม. 10+950 เป็นแบบวงเวียนเพิ่มประสิทธิภาพการสัญจร วงเงินงบประมาณ 1,598.69 ล้านบาท โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโครงข่ายคมนาคมในการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ สร้างงาน สร้างรายได้ของคนในพื้นที่ การแก้ไขปัญหาจราจร เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย